เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร สำหรับควบคุมน้ำหนัก

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร สำหรับควบคุมน้ำหนัก

 

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ปัจจุบันคนมีภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้สุขภาพแย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน คือ การรับประทานอาหารมากเกินไป หรือ รับประทานอาหารไม่เหมาะสมกับร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการต่อวัน (อ้างอิงที่ 1)

 

ทำไมต้องควบคุมน้ำหนัก?

การลดน้ำหนักช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้ (อ้างอิงที่ 2) ลดการอักเสบในร่างกาย และทำให้สุขภาพดีขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาโรคอ้วนที่นิยมทำกันมากที่สุดคือ การควบคุมปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน

 

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร…อีกหนึ่งตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

เนื่องจากการประเมินค่าพลังงานจากอาหารที่รับประทานต่อวันนั้นทำได้ยาก ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจึงได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้ในการควบคุมปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับต่อวัน และช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้ ซึ่งสามารถทดแทนมื้ออาหารได้ทั้งหมด 3 มื้อ หรือทดแทนบางส่วนคือ 1-2 มื้อ ต่อวัน

ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจะช่วยทำให้ลดน้ำหนักได้ดีมากกว่าการควบคุมอาหารทั่วไป (อ้างอิงที่ 2) และมีข้อมูลงานวิจัยแบบการวิเคราะห์อภิมานจาก 22 งานวิจัย ที่ลดน้ำหนักโดยการใช้
ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร พบว่า การได้รับพลังงานจากผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมากกว่า 60% ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน (ประมาณ 2 มื้อขึ้นไป) จะส่งผลให้ลดน้ำหนักได้ดี (อ้างอิงที่ 3)

นอกจากนี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารยังช่วยให้ร่ายกายได้รับสารอาหารครบถ้วน มีใยอาหารสูง ดูดซึมได้รวดเร็ว ทำให้อิ่มท้องได้นาน ต่างจากการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

 

ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร

  1. ลดโอกาสการรับประทานอาหารที่มากเกินไป จนเกินความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
  2. มีสารอาหารครบถ้วน
  3. มีสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  4. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารแบบเดิมๆ ที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้

 

คุณสมบัติของอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนักที่มีคุณภาพ จะต้องมีเกณฑ์ตรงตามมารตรฐานที่เป็นสากลโดย Codex ดังนี้ (อ้างอิงที่ 4)

  • ให้พลังงาน 200-400 กิโลแคลอรีต่อมื้อ (สำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับพลังงานประมาณ 800-1 ,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน)
  • ให้พลังงงานจากโปรตีน 25-50% ของพลังงานทั้งหมด เช่น ถ้าอาหารให้พลังงาน 250 โลแคลอรี ต้องได้พลังงานจากโปรตีน 625 กิโลแคลอรี หรือ 15.6 กรัม ขึ้นไปต่อมื้อ และไม่ควรรับประทานโปรตีนต่ำกว่า 50 กรัม และไม่ควรเกิน 125 กรัม ในแต่ละวัน
  • โปรตีนต้องเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง คือมีปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนไปใช้ได้ง่าย ตัวอย่างโปรตีนคุณภาพสูงได้แก่ นม ไข่ และโปรดีนถั่วเหลือง ทั้งนี้สามารถเติมกรดอะมิในเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพโปรตีนได้
  • ให้พลังงานจากไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานทั้งหมด เช่น ถ้าอาหารให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี ควรมีพลังงานจากไขมันไม่เกิน 75 กิโลแคลอรี หรือ 8.3 กรัม
  • ให้พลังงานจากไขมันไลโนเลอิกมากกว่า 3% ของพลังงานทั้งหมด
  • มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี

ส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

  • โปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นโปรตีนพืชที่มีคุณภาพสูง การรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองจะให้ผลดีในการลดไขมันในเลือด, ภาวะดื้ออินซูลิน (insulin intolerance), กระบวนการเผาผลาญไขมัน (อ้างอิงที่ 5) และยังทำให้ได้รับพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรค (อ้างอิงที่ 6, 7)
  • นอกจากนี้ยังมีสถิติจาก 22 งานวิจัย ซึ่งมีจำนวนผู้ที่มีภาวะอ้วน 870 คน พบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับลดน้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย, ปริมาณไขมัน และขนาดรอบเอวของคนอ้วนอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 8)
  • กรดอะมิน ได้แก่ วาลีน, ลิวซีน, ไอโซลิวซีน และเมไธโอนีน ช่วยปรับคุณภาพโปรตีนจากถั่วเหลืองให้มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็น ใกล้เคียงโปรตีนจากสัตว์มากขึ้น ซึ่งวาลีน, ลิวชีน และไอโชลิวชีน เป็นกรดอะมิโน กลุ่ม Branched Chain Amino Acids (BCAAS) ช่วยในการเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถนะในการออกกำลังกาย ลดการเหนื่อยล้าหลังออกกำลังกาย และช่วยในการลดน้ำหนัก (อ้างอิงที่ ๑
    – โพลีเด็กซ์โตรส มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
    – เป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble dietary fiber)
    – เป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) และ ซินไบโอติก (Synbiotic)
    – ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
    – ช่วยทำให้อิ่ม
    – ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – ต้านมะเร็ง
    – ช่วยเพิ่มการดูดซึมของแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเชียม และเหล็ก ในลำไส้ใหญ่ (อ้างอิ่งที่ 10)

 

หุ่นดี

 

  • ไฟเบอร์ครีม จากน้ำมันมะพร้าวผสมใยอาหารอินนูลิน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (อ้างอิงที่ 11)
  • ไฮโดรไลซ์โอ๊ต เมื่อโอ๊ตผ่านการไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์จะทำให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ย่อยง่าย เนื้อสัมผัสไม่ขันหนืด และทำให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงขึ้นกว่าโอ๊ตปกติ (อ้างอิงที่ 12) และส่งผลดีต่อสุขภาพดังนี้
    – ช่วยลดคอเลสเตอรอล
    – ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – ช่วยในการลดน้ำหนัก เพิ่มความอิ่มและลดความอยากอาหาร
    – ช่วยเพิ่มจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ (อ้างอิงที่ 13)
  • น้ำตาลมะพร้าว เป็นน้ำตาลที่มีค่าดัขนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำคือ น้อยกว่า 55 ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างข้าๆ และช่วยทำให้อิ่มนาน
  • น้ำมันทานตะวัน ให้กรดไขมันไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นและดีต่อสุขภาพ
  • วิตามิน 13 ชนิด ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินอี, วิตามินเค, วิตามินซี, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินบี 5, วิตามินบี 6, กรดโฟลิก, ไบโอติน และวิตามินบี 12 และแร่ธาตุ 11 ชนิด ได้แก่ โซเดียม, แคลเซียม, แมกนีเชียม, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, เหล็ก, สังกะสี ไอโอดีน, แมงกานีส, ทองแดง และซีลีเนียม
  • จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นที่กล่าวมา จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมีประโยชน์มาก สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมอาหาร, ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน, ผู้ที่ต้องการรักษารูปร่างให้มีความสมส่วน, ผู้ที่ต้องการสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมื้อปกติยาก เนื่องจากการรับประทานผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร จะทำให้เราได้รับพลังงานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน มีวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม ให้ใยอาหารสูงและมีน้ำตาลขนิดที่ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดข้าๆ ช่วยให้อิ่มนาน ทั้งนี้ยังสะดวก และง่ายต่อการรับประทาน ทำให้ลดเวลาจากการเตรียมอาหารในมื้อปกติอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง

1. FAO (2016). Policies and programmes to fight overweight and obesity
2. Kim, Ju Young. (2021). Optimal diet strategies for weight loss and weight loss maintenance. Journal of obesity & metabolic syndrome 30(1): 20.
3. Min, Jihyun, et al. (2021). The effect of meal replacement on weight loss according to calorie restriction type and proportion of energy intake: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Journal of
the Academy of Nutrition and Dietetics 121(8):1551-1564.
4. Alimentarius, C. (1991). Codex Stan 181, 1991. Codex Standard for Formula Foods for Use in Weight Control Diets
5. Velasquez MT, Bhathena SJ. (2007). Role of Dietary Soy Protein in Obesity. Int J Med Sci 4(2): 72-82. doi:10.7150/jms.4.72.
6. Song M, Fung TT, Hu FB, et al. (2016). Association of Animal and Plant Protein
Intake With All Cause and Cause-Specific Mortality. JAMA Intern Med. 176(10):
1453-1463. doi:10.1001/jamainternmed.2016.4182
7. Naghshi, Sina, et al. (2020). Dietary intake of total, animal, and plant proteins and risk of all cause, cardiovascular, and cancer mortality: systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies. bmj 370.
8. Mu, Yuze, et al. (2019). Soy products ameliorate obesity-related anthropometric indicators in overweight or obese asian and non-menopausal women: A meta-analysis of randomized controlled trials. Nutrients 11(11): 2790.
9. Healthline.com (2021). “BCAA Benefits: A Review of Branched-Chain Amino Acids” (online).https://www.healthline.com/nutrition/bcaa ลืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566
10. Do Carmo, Mariane Moreira Ramiro, et al. (2016). Polydextrose: Physiological function, and effects on health. Nutrients 8(9): 553.
11. Mumpuni, Hasanah, et al. (2022) FiberCreme as a Functional Food Ingredient Reduces Hyperlipidemia and Risk of Cardiovascular Diseases in Subjects with Hyperlipidemia. Preventive Nutrition and Food Science 27(2): 165
12. Jodayree, Sara. (2015). Antioxidant activity of oat bran hydrolyzed proteins in vitro and in vivo. Diss. Carleton University,
13. Paudel, D. et al (2021). A review of health-beneficial properties of oats. Foods, 10(11): 2591.