สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และซีลีเนียม

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และซีลีเนียม

 

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) เป็นสารประเภทไบโอฟลาโวนอยด์ มีสารสำคัญหลายตัวเป็นกลุ่มของโปรแอนโทไซยาดินิน (Proanthocyanidin) หรือมีอีกชื่อว่า พีซีโอ (PCO : Procyanidolic Oligomers) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระ สารพีซีโอตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดองุ่น บลูเบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่ว และผักบางชนิด มีประโยชน์กล่าวโดยสังเขปดังนี้

  1. สามารถช่วยลดฝ้าที่เกิดจากแสงแดดได้ โดยมีนักวิจัยในประเทศญี่ปุ่น ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีปัญหาเรื่องฝ้า จำนวน 12 คน โดยให้รับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) ครั้งละ 67 มก. วันละ 3 ครั้ง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่า สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) มีประสิทธิภาพในการลดฝ้า จุดด่างดำ รอยดำ อีกทั้งช่วยป้องกันไม่ให้ฝ้าลุกลามได้ และมีความปลอดภัย (อ้างอิงที่ 2,3)
  2. ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ช่วยดูแลผิวให้แลดูอ่อนเยาว์ เปล่งปลั่ง (อ้างอิงที่ 4 )
  3. มีผลดีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทนทานต่อภาวะการขาดเลือด รวมถึงลดการเต้นผิดจังหวะ จึงมีผลทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ (อ้างอิงที่ 5,6)
  4. มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งผิวหนัง Squamous cell carcinoma, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลิ้น, มะเร็งลำไส้, มะเร็งสมอง Glioblastoma, มะเร็งเม็ดเลือดขาว HL-60 human leukemia ceels และมะเร็งปอด Non-small-cell lung cancer (อ้างอิงที่ 7-16)
  5. มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง พบว่า การรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นที่ 100-800 มก.ต่อวัน ช่วยลดความดันโลหิตได้ (อ้างอิงที่ 17)
  6. ช่วยปกป้อง และบำรุงตับ ไต (อ้างอิงที่ 18-20)
-20%
304 ฿464 ฿
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
-20%

อาหารเสริมกิฟฟารีน

ซิงค์คอลลาเจน กิฟฟารีน

416 ฿1,664 ฿
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
-20%
Original price was: 220 ฿.Current price is: 176 ฿.
-20%
Original price was: 260 ฿.Current price is: 208 ฿.
เกรปซีด

ในด้านผิวหนังนอกจากสารสกัดจากเมล็ดองุ่นแล้ว ยังมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวหนัง ดังนี้

  • วิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียม มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านและการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 21)
  • วิตามินซี มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผิวมีสุขภาพดี ช่วยลดการสังเคราะห์เมลานิน ช่วยลดจุดด่างดำ และปกป้องผิวจากแสงยูวี (อ้างอิงที่ 22)
  • มีงานวิจัยที่บอกถึงการใช้วิตามินซีร่วมกับวิตามินอีว่า ให้ผลในการรักษาฝ้าที่ดีกว่าการใช้วิตามินซีเพียงอย่างเดียว (อ้างอิงที่ 23)
  • นอกจากนี้ มีงานวิจัยในมนุษย์ที่แสดงถึงการใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ร่วมกับวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ซีรีเนียม และสารสกัดจากมะเขือเทศร่วมกัน พบว่า ให้คุณสมบัติในด้านการปกป้องผิวจากรังสียูวี (อ้างอิงที่ 24) ส่วนการใช้เบต้าแคโรทีนร่วมกับวิตามินซี และวิตามินอี จะช่วยเสริมฤทธิ์กันในการต้านอนุมูลอิสระ

ข้อห้าม และข้อควรระวัง

  • ไม่แนะนำสารสกัดจากเมล็ดองุ่นในผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (อ้างอิงที่ 26)

เอกสารอ้างอิง :

1. Zheng Feei Ma. et al. 2017. Antioxidants (Basel).
2. Yamakoshi J. et al. 2004. Phytother Res.
3. Grape Seed Extract and Chloasma. The Health Professional’s Guide to Popular Dietary Supplements Third Edition. American Dietetic Association
4. Shi J. et al. 2003. J Med Food.
5. Pataki T. et al. 2002. Am j Clin Nutr.
6. Yamakoshi J. et al. 1999. Atherosclerosis.
7. Hah YS. et al. 2017 Oncol Lett.
8. Fangming Guo. et al. 2018. Mediators Inflamm.
9. CHAO NIE. et al. 2016. Oncol Rep.
10. Agarwal C. et al. 2000. Mol Carcinog.
11. Agarwal C. et al. 2000. Clin Cancer Res.
12. Ninggang Yang. et al. 2017. Int J Mol Med.
13. Molly Derry. et al. 2013. Cancer Lett.
14. Zhang FJ. et al. 2009. Chem Biol Interact.
15. Ning Gao. et al. 2010. Clin Cancer Res.
16. Alpna Tyagi. et al. 2013. Nutr Cancer.
17. Zhang H. et al. 2016. Medicine (Baltimore).
18. Khoshbaten M. et al. 2010. Saudi J Gastroenterol.
19. Ozkan G. et al. 2012. Kidney Blood Press Res.
20. Khaoula Turki. et al. 2016. EXCLI J.
21. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร.
22. Wang K1. et al.2018. Front Physiol.
23. Hayakawa R. et al. 1981. Acta Vitaminol Enzymol.
24. Greul AK. et al. 2002. Skin Pharmacol Appl Skin Physiol.
25. Böhm F. et al. 1998. FEBS Lett.
26. Shanmuganayagam C. et al. 2002. J Nutr.