มิกซ์ แคโรทีนอยด์ สารอาหารสำคัญที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

มิกซ์ แคโรทีนอยด์

มิกซ์ แคโรทีนอยด์ สารอาหารสำคัญที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

 

          ผิวหนัง คือ ส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมากที่สุด โดยเฉพาะรังสี UV จากแสงแดด แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า กว่า 50% ของตัวการทำลายผิวคือ แสงสีฟ้า ซึ่งสามารถทำลายผิวได้ในระดับที่ลึกกว่ารังสี UV จึงเป็นสาเหตุหลักของการอักเสบในระดับชั้นหนังแท้, คอลลาเจนในชั้นผิวถูกทำลาย และทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่ผิวได้มากที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะผิวเสื่อม (Skin Aging) ผิวมีความหย่อนคล้อย และเกิดริ้วรอยได้ง่าย

          ในผิวหนังของมนุษย์ จะมีแคโรทีนอยด์อยู่ที่ผิวขั้นหนังกำพร้าในปริมาณสูง ได้แก่ lycopene, alpha-carotene, beta-carotene และ lutein/ zecxanthin เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ และการปกป้องผิวจากอันตรายจากสิ่งแวดล้อม และรังสีต่างๆ (อ้างอิงที่ 1)

แสงสีฟ้า

ปัจจัยที่ทำให้แคโรทีนอยด์ลดลง (อ้างอิงที่ 1)

  • การได้รับรังสี UV (290-400 nm) จากแสงอาทิตย์ เป็นเวลานานกว่า 30 นาที ทำให้ปริมาณไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนในผิวลดลง
  • การได้รับแสงสีฟ้า ซึ่งอยู่ในกลุ่มแสงสีขาว หรือแสงที่มองเห็นได้ (Visible Light) (400-760 nm) เป็นแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ และจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดไฟ จอโทรทัศน์/คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์ เป็นต้น
  • คลื่นแสง NIR (Near Infrared Radiation) (IR-A 760-1440
    nm, IR-B 1440-3000 กm) เป็นรังสีที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการทำลายของคอลลาเจน และสร้างอนุมูลอิสระในชั้นผิว
  • ภาวะเครียดภายในร่างกาย และการเจ็บป่วย
  • การได้รับเคมีบำบัด

 

การได้รับแคโรทีนอยด์หลากหลายให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ

นอกจากการรับประทานแคโรทีนอยด์ที่หลากหลายจะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ได้แล้ว ยังให้ผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ช่วยปกป้องและเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ (อ้างอิงที่ 7-8)
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ (อ้างอิงที่ 9)
    – ชะลอการเกิดโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-Related Macular Degeneration, AMD) ได้ (อ้างอิงที่ 10)
  • ลดความสี่ยงโรคสมองเสื่อมเนื่องจากภาวะชราและลดการเสื่อมของสติปัญญา (อ้างอิงที่ 11-12)
    ปรับปรุงความสามารถทางสติปัญญาในผู้สูงอายุ (อ้างอิงที่ 13-14)
  • ผู้ที่มีระดับแคโรทีนอยด์ในเลือด >2500 mmol/L มีความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ และมะเร็ง น้อยกว่าผู้ที่มีระดับแคโรทีนอยด์ในเลือด <1000 mmol/L (อ้างอิงที่ 15)

 

สามารถเสริมประสิทธิภาพการดูแลผิวให้ดียิ่งขึ้นด้วย… แคโรทีนอยด์ผสมน้ำมันมะกอก และโทโคไตรอีนอลจากผลปาล์ม

โดยมีงานวิจัยว่า..

  • น้ำมันมะกอกช่วยเพิ่มความสามารถในการนำแอลฟาแคโรทีน เบต้าแคโรทีน ลูทีน และไลโคพีนไปใช้ (Bioaccesibility) ได้มากขึ้น 1-5 เท่า และบางรายงานเพิ่มขึ้น 21 เท่า (อ้างอิงที่ 16)
  • โทโคไตรอีนอลมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ผิวจากแสงสีฟ้า โดยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จึงช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิว, กระตุ้นการสังเคราะห์และลดการสลายคอลลาเจน, ลดการสร้างอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการอักเสบในเซลล์ผิว, ลดการทำลายผิวจากรังสียูวีในแสงแดด และเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ (lelomere) (อ้างอิงที่ 17-18)
แคโรทีนอยด์

          ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ซึ่งแคโรทีนอยด์จากอาหารมักดูดซึมได้ไม่ดี ดังนั้น แคโรทีนอยด์ที่อยู่ในรูปแบบน้ำมัน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีกว่าการได้รับจากอาหารถึง 6 เท่า (อ้างอิงที่ 2-3)  ยกตัวอย่างเช่น

  1. แคโรทีนอยด์จากผลปาล์ม (Palm Carotenoid) ประกอบไปด้วย อัลฟาแคโรที่น (Alpha-carotene) และเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ในอัตราส่วน 2:1 เป็นแหล่งของวิตามินเอ
    จากธรรมชาติที่อยู่ในรูปของน้ำมัน
  2. แคโรที่นอยด์จากดอกดาวเรือง (Marigold Carotenoid) ประกอบไปด้วย ลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin)ในอัตราส่วน 5:1 อยู่ในรูปของน้ำมัน
  3.  แคโรที่นอยด์จากมะเขือเทศ (Tomato Carotenoid) มีแคโรทีนอยด์หลักคือ ไลโคพืน (Lycopene) ที่อยู่ในรูปแบบน้ำมัน ดูดซึมได้ดีกว่าการได้รับจากกินมะเขือเทศสด

 

ประโยชน์ของแคโรทีนอยด์กับการปกป้องผิว

จากงานวิจัยพบว่า..

  • ช่วยลดการเกิดผิวแสบแดงเมื่อสัมผัสรังสี UVA (อ้างอิงที่ 4)
  • ช่วยลดการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีในชั้นผิว เมื่อสัมผัสรังสี UVB (อ้างอิงที่ 4)
  • ช่วยลดการอักเสบจากการสัมผัสรังสี UV ในผิวชั้นนอกสุดของหนังกำพร้า (Stratum corneum (SC)) และเพิ่มการผลัดเซลล์ผิว (skin cell tumover ทำให้ได้ผิวหนังกำพร้าใหม่ที่บางส่งผลให้ผิวดูสดใส (อ้างอิงที่ 5)
  • ปกป้องผิวจากแสงสีฟ้าในชั้นหนังแท้ ลดการเกิดริ้วรอย (อ้างอิงที่1, 5)
  • ปกป้องเชลล์ผิวจากอนุมูลอิสระในระดับโมเลกุล (อ้างอิงที่ 4)
  • ยับยั้งเอนไซม์ MMP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายคอลลาเจน (อ้างอิงที่ 4)
  • ลดการเกิดออกชิเดชั่นของไขมัน (Lipid peroxidation) ในชั้นผิว (อ้างอิงที่ 5)
  • ช่วยให้ผิวแข็งแรง ดูอ่อนเยาว์ (อ้างอิงที่ 4)
  • เพิ่มการสร้างอีลาสติน 27%, คอลลาเจน 12% กรดไฮยาลูโรนิก 53% ภายใน 72 ชั่วโมง (อ้างอิงที่ 6)
-20%
464 ฿1,744 ฿
-20%
Original price was: 880 ฿.Current price is: 704 ฿.
-20%

สินค้าใหม่กิฟฟารีน

กิฟฟารีน แซลมอน คอลลาเจน พลัส+

Original price was: 600 ฿.Current price is: 480 ฿.
-20%
Original price was: 1,000 ฿.Current price is: 800 ฿.
เอกสารอ้างอิง : 
  1. Darvin, Maxim E., et al. “Carotenoids in human skin in vivo: Antioxidant and photo-protectant role against external and internal stressors.” Antioxidants 11.8 (2022): 1451.
  2. Haskell, Marjorie J. “The challenge to reach nutritional adequacy for vitamin A: B-carotene bioavailability and conversion-evidence in humans.” The American journal of clinical nutrition 96.5 (2012): 1193S-1203S.
  3. Institute of Medicine. “Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids.” National Academics Press. 2000
  4. Baswan, Sudhir M., et al. “Role of ingestible carotenoids in skin protection: A review of clinical evidence,” Photodermatology, Photoimmunology & Photomedicine 37.6 (2021): 490-504.
  5. Umbreen, H., & Zia-Ul-Haq, M. (2021). Carotenoids and Skin Diseases. Carotenoids: Structure and Function in the Human Body, 721-745.
  6. Schalka, Sergio, et al. “Nutraceutical compound increases collagen, elastin and hyaluronic acid synthesis.” Surgical & Cosmetic Dermatology (2017).
  7. Min, Kyoung-Bok, and Jin-Young Min. “Association between leukocyte telomere length and serum carotenoid in US adults.” European journal of nutrition 56 (2017):1045-1052.
  8. Mehkri, S., et al. “Effect of Lutein (Lute-gen@) on proliferation rate and telomere length in vitro and possible mechanism of action.” Int. J. Biol. Res 4 (2019): 84-91.
  9. Bruno, Renata R., et al. “Serum a-Carotene, but Not Other Antioxidants, Is Positively Associated with Muscle Strength in Older Adults: NHANES 2001-2002.” Antioxidants 11.12 (2022): 2386.
  10. Wu, Juan, et al. “Intakes of lutein, zeaxanthin, and other carotenoids and age-related macular degeneration during 2 decades of prospective follow-up.” JAMA ophthalmology 133.12 (2015): 1415-1424.
เอกสารอ้างอิง : 

11. Gandla, Kumaraswamy, et al. “Carotenoids: Role in Neurodegenerative Diseases Remediation.” Brain Sciences 13.3 (2023): 457.

12. Zhong, Qiya, et al, “Association of dietary a-carotene and B-carotene intake with low cognitive performance in older adults: a cross-sectional study from the national health and nutrition examination survey.” Nutrients 15.1 (2023): 239.

13. Davinelli, Sergio, et al. “Carotenoids and cognitive outcomes: a meta-analysis of randomized intervention trials.” Antioxidants 10.2 (2021): 223.

14. Tanprasertsuk, Jirayu, et al. “Carotenoid-rich brain nutrient pattern is positively correlated with higher cognition and lower depression in the oldest old with no dementia.” Frontiers in Nutrition 8 (2021): 704691.

15. BOhm, Volker, et al. “From carotenoid intake to carotenoid blood and tissue concentrations-implications for dietary intake recommendations.” Nutrition reviews 79.5 (2021): 544-573.

16. Yao, Yuanhang, Peiyi Tan, and Jung Eun Kim, “Effects of dietary fats on the bioaccessibility and bioavailability of carotenoids: a systematic review and meta-analysis of in vitro studies and randomized controlled trials.” Nutrition Reviews 80.4(2022): 741-761.

17. Neo, Juvenia Rui En, et al. “Tocotrienol-Rich Fraction Attenuates Blue Light-Induced Oxidative Stress and Melanogenesis in B16-F1 Melanocytes via Anti-Oxidative and Anti-Tyrosinase Properties.” International journal of molecular
sciences 24.20 (2023): 15373.

18. Ghazali, Nur Izyani, et al. “Effects of tocotrienol on aging skin: A systematic review.” Frontiers in pharmacology 13 (2022): 1006198.