กระเทียมกับความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง คือภาวะแรงดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงเกินปกติ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
- มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพิ่มขึ้น 3 เท่า
- มีโอกาสเกิดหัวใจวาย เพิ่มขึ้น 6 เท่า
- มีโอกาสเกิดอัมพาต เพิ่มขึ้น 7 เท่า
เมื่อไหร่ถึงจะเรียกได้ว่า ความดันโลหิตสูง
- ค่าความดันตัวบน มากกว่าหรือเท่ากับ 140
- ค่าความดันตัวล่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 90
เอกสารอ้างอิง : โรคความดันโลหิตสูง, บทความเกี่ยวกับสุขภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ. สืบค้นวันที่ 2 ตุลาคม 2566
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูง
- ลดอาหารรสเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป
- ลดการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- ลดน้ำตาล
- งดการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือด
- ต่างๆ ทั้งหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดไต
- เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เครียด และรักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ
กระเทียมกับความดันโลหิตสูง
สรรพคุณของกระเทียม ในการช่วย ลดความดันโลหิต
- ช่วยลดความหนืดของเลือด ทำให้เลือดเหลวและไหลเวียนสะดวก
- ช่วยสลายไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบ จึงช่วยให้หัวใจทำงานไม่หนักจนเกินไป
- ป้องกันไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของหลอดเลือดตีบและอุดตัน จึงส่งผลต่อความดันโลหิตโดยตรง
ทำไม? รับประทานกระเทียมเป็นประจำ แต่ยังเป็นความดันโลหิตสูง
- สารสำคัญสลายไปจากการปรุงอาหาร การปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิสูงทำให้สารสำคัญในกระเทียม คือ อัลลิซิน สลายหายไปหมด
- ประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหาร เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป อาจดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง ทำให้ต้องรับประทานกระเทียมในปริมาณมากจึงจะออกฤทธิ์
ทำอย่างไร จึงจะได้รับประโยชน์จากกระเทียมอย่างเต็มที่
- การรับประทานกระเทียมเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นความดันโลหิตสูงได้
- ไม่ควรรับประทานกระเทียมเก่า หรือกระเทียมที่เก็บไว้นาน เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อรา หรือสารอะฟลาทอกซินได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
- เลือกรับประทานกระเทียมสกัด เพื่อความสะดวกและแม้รับประทานในปริมาณน้อย ก็ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่