มิกซ์ แคโรทีนอยด์ สารอาหารสำคัญที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
ผิวหนัง คือ ส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมากที่สุด โดยเฉพาะรังสี UV จากแสงแดด แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า กว่า 50% ของตัวการทำลายผิวคือ แสงสีฟ้า ซึ่งสามารถทำลายผิวได้ในระดับที่ลึกกว่ารังสี UV จึงเป็นสาเหตุหลักของการอักเสบในระดับชั้นหนังแท้, คอลลาเจนในชั้นผิวถูกทำลาย และทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่ผิวได้มากที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะผิวเสื่อม (Skin Aging) ผิวมีความหย่อนคล้อย และเกิดริ้วรอยได้ง่าย
ในผิวหนังของมนุษย์ จะมีแคโรทีนอยด์อยู่ที่ผิวขั้นหนังกำพร้าในปริมาณสูง ได้แก่ lycopene, alpha-carotene, beta-carotene และ lutein/ zecxanthin เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ และการปกป้องผิวจากอันตรายจากสิ่งแวดล้อม และรังสีต่างๆ (อ้างอิงที่ 1)
ปัจจัยที่ทำให้แคโรทีนอยด์ลดลง (อ้างอิงที่ 1)
- การได้รับรังสี UV (290-400 nm) จากแสงอาทิตย์ เป็นเวลานานกว่า 30 นาที ทำให้ปริมาณไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนในผิวลดลง
- การได้รับแสงสีฟ้า ซึ่งอยู่ในกลุ่มแสงสีขาว หรือแสงที่มองเห็นได้ (Visible Light) (400-760 nm) เป็นแสงที่มาจากดวงอาทิตย์ และจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดไฟ จอโทรทัศน์/คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์ เป็นต้น
- คลื่นแสง NIR (Near Infrared Radiation) (IR-A 760-1440
nm, IR-B 1440-3000 กm) เป็นรังสีที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการทำลายของคอลลาเจน และสร้างอนุมูลอิสระในชั้นผิว - ภาวะเครียดภายในร่างกาย และการเจ็บป่วย
- การได้รับเคมีบำบัด
การได้รับแคโรทีนอยด์หลากหลายให้ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ
นอกจากการรับประทานแคโรทีนอยด์ที่หลากหลายจะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ได้แล้ว ยังให้ผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้
- ช่วยปกป้องและเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ (อ้างอิงที่ 7-8)
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ (อ้างอิงที่ 9)
– ชะลอการเกิดโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-Related Macular Degeneration, AMD) ได้ (อ้างอิงที่ 10) - ลดความสี่ยงโรคสมองเสื่อมเนื่องจากภาวะชราและลดการเสื่อมของสติปัญญา (อ้างอิงที่ 11-12)
ปรับปรุงความสามารถทางสติปัญญาในผู้สูงอายุ (อ้างอิงที่ 13-14) - ผู้ที่มีระดับแคโรทีนอยด์ในเลือด >2500 mmol/L มีความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ และมะเร็ง น้อยกว่าผู้ที่มีระดับแคโรทีนอยด์ในเลือด <1000 mmol/L (อ้างอิงที่ 15)
สามารถเสริมประสิทธิภาพการดูแลผิวให้ดียิ่งขึ้นด้วย… แคโรทีนอยด์ผสมน้ำมันมะกอก และโทโคไตรอีนอลจากผลปาล์ม
โดยมีงานวิจัยว่า..
- น้ำมันมะกอกช่วยเพิ่มความสามารถในการนำแอลฟาแคโรทีน เบต้าแคโรทีน ลูทีน และไลโคพีนไปใช้ (Bioaccesibility) ได้มากขึ้น 1-5 เท่า และบางรายงานเพิ่มขึ้น 21 เท่า (อ้างอิงที่ 16)
- โทโคไตรอีนอลมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ผิวจากแสงสีฟ้า โดยยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จึงช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิว, กระตุ้นการสังเคราะห์และลดการสลายคอลลาเจน, ลดการสร้างอนุมูลอิสระ, ยับยั้งการอักเสบในเซลล์ผิว, ลดการทำลายผิวจากรังสียูวีในแสงแดด และเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ (lelomere) (อ้างอิงที่ 17-18)
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ซึ่งแคโรทีนอยด์จากอาหารมักดูดซึมได้ไม่ดี ดังนั้น แคโรทีนอยด์ที่อยู่ในรูปแบบน้ำมัน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีกว่าการได้รับจากอาหารถึง 6 เท่า (อ้างอิงที่ 2-3) ยกตัวอย่างเช่น
- แคโรทีนอยด์จากผลปาล์ม (Palm Carotenoid) ประกอบไปด้วย อัลฟาแคโรที่น (Alpha-carotene) และเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ในอัตราส่วน 2:1 เป็นแหล่งของวิตามินเอ
จากธรรมชาติที่อยู่ในรูปของน้ำมัน - แคโรที่นอยด์จากดอกดาวเรือง (Marigold Carotenoid) ประกอบไปด้วย ลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin)ในอัตราส่วน 5:1 อยู่ในรูปของน้ำมัน
- แคโรที่นอยด์จากมะเขือเทศ (Tomato Carotenoid) มีแคโรทีนอยด์หลักคือ ไลโคพืน (Lycopene) ที่อยู่ในรูปแบบน้ำมัน ดูดซึมได้ดีกว่าการได้รับจากกินมะเขือเทศสด
ประโยชน์ของแคโรทีนอยด์กับการปกป้องผิว
จากงานวิจัยพบว่า..
- ช่วยลดการเกิดผิวแสบแดงเมื่อสัมผัสรังสี UVA (อ้างอิงที่ 4)
- ช่วยลดการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีในชั้นผิว เมื่อสัมผัสรังสี UVB (อ้างอิงที่ 4)
- ช่วยลดการอักเสบจากการสัมผัสรังสี UV ในผิวชั้นนอกสุดของหนังกำพร้า (Stratum corneum (SC)) และเพิ่มการผลัดเซลล์ผิว (skin cell tumover ทำให้ได้ผิวหนังกำพร้าใหม่ที่บางส่งผลให้ผิวดูสดใส (อ้างอิงที่ 5)
- ปกป้องผิวจากแสงสีฟ้าในชั้นหนังแท้ ลดการเกิดริ้วรอย (อ้างอิงที่1, 5)
- ปกป้องเชลล์ผิวจากอนุมูลอิสระในระดับโมเลกุล (อ้างอิงที่ 4)
- ยับยั้งเอนไซม์ MMP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายคอลลาเจน (อ้างอิงที่ 4)
- ลดการเกิดออกชิเดชั่นของไขมัน (Lipid peroxidation) ในชั้นผิว (อ้างอิงที่ 5)
- ช่วยให้ผิวแข็งแรง ดูอ่อนเยาว์ (อ้างอิงที่ 4)
- เพิ่มการสร้างอีลาสติน 27%, คอลลาเจน 12% กรดไฮยาลูโรนิก 53% ภายใน 72 ชั่วโมง (อ้างอิงที่ 6)
เอกสารอ้างอิง :
- Darvin, Maxim E., et al. “Carotenoids in human skin in vivo: Antioxidant and photo-protectant role against external and internal stressors.” Antioxidants 11.8 (2022): 1451.
- Haskell, Marjorie J. “The challenge to reach nutritional adequacy for vitamin A: B-carotene bioavailability and conversion-evidence in humans.” The American journal of clinical nutrition 96.5 (2012): 1193S-1203S.
- Institute of Medicine. “Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids.” National Academics Press. 2000
- Baswan, Sudhir M., et al. “Role of ingestible carotenoids in skin protection: A review of clinical evidence,” Photodermatology, Photoimmunology & Photomedicine 37.6 (2021): 490-504.
- Umbreen, H., & Zia-Ul-Haq, M. (2021). Carotenoids and Skin Diseases. Carotenoids: Structure and Function in the Human Body, 721-745.
- Schalka, Sergio, et al. “Nutraceutical compound increases collagen, elastin and hyaluronic acid synthesis.” Surgical & Cosmetic Dermatology (2017).
- Min, Kyoung-Bok, and Jin-Young Min. “Association between leukocyte telomere length and serum carotenoid in US adults.” European journal of nutrition 56 (2017):1045-1052.
- Mehkri, S., et al. “Effect of Lutein (Lute-gen@) on proliferation rate and telomere length in vitro and possible mechanism of action.” Int. J. Biol. Res 4 (2019): 84-91.
- Bruno, Renata R., et al. “Serum a-Carotene, but Not Other Antioxidants, Is Positively Associated with Muscle Strength in Older Adults: NHANES 2001-2002.” Antioxidants 11.12 (2022): 2386.
- Wu, Juan, et al. “Intakes of lutein, zeaxanthin, and other carotenoids and age-related macular degeneration during 2 decades of prospective follow-up.” JAMA ophthalmology 133.12 (2015): 1415-1424.
เอกสารอ้างอิง :
11. Gandla, Kumaraswamy, et al. “Carotenoids: Role in Neurodegenerative Diseases Remediation.” Brain Sciences 13.3 (2023): 457.
12. Zhong, Qiya, et al, “Association of dietary a-carotene and B-carotene intake with low cognitive performance in older adults: a cross-sectional study from the national health and nutrition examination survey.” Nutrients 15.1 (2023): 239.
13. Davinelli, Sergio, et al. “Carotenoids and cognitive outcomes: a meta-analysis of randomized intervention trials.” Antioxidants 10.2 (2021): 223.
14. Tanprasertsuk, Jirayu, et al. “Carotenoid-rich brain nutrient pattern is positively correlated with higher cognition and lower depression in the oldest old with no dementia.” Frontiers in Nutrition 8 (2021): 704691.
15. BOhm, Volker, et al. “From carotenoid intake to carotenoid blood and tissue concentrations-implications for dietary intake recommendations.” Nutrition reviews 79.5 (2021): 544-573.
16. Yao, Yuanhang, Peiyi Tan, and Jung Eun Kim, “Effects of dietary fats on the bioaccessibility and bioavailability of carotenoids: a systematic review and meta-analysis of in vitro studies and randomized controlled trials.” Nutrition Reviews 80.4(2022): 741-761.
17. Neo, Juvenia Rui En, et al. “Tocotrienol-Rich Fraction Attenuates Blue Light-Induced Oxidative Stress and Melanogenesis in B16-F1 Melanocytes via Anti-Oxidative and Anti-Tyrosinase Properties.” International journal of molecular
sciences 24.20 (2023): 15373.
18. Ghazali, Nur Izyani, et al. “Effects of tocotrienol on aging skin: A systematic review.” Frontiers in pharmacology 13 (2022): 1006198.